วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554
กิจกรรมที่12
วีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๒ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประวัติความเป็นมา
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราชในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ โดยการนำของพลโทอิอิด้า ส่วนกองทัพไทยได้แต่งตั้งให้พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ ซึ่งหลวงเสนาณรงค์ได้รับรายงานข่าวว่าเรือรบญี่ปุ่นมาปิดปากอ่าวและยกพลขึ้นบกที่สงขลา จึงได้เตรียมความพร้อมในการรับมือข้าศึก แม้ขณะนั้นฝนจะตกหนัก ในที่สุดก็ได้รับรายงานว่า มีเรือรบญี่ปุ่น จำนวน ๓ ลำกำลังลำเลียงพลด้วยเรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ พลตรีหลวงเสนาณรงค์ได้สั่งการให้เปิดคลังแสง แจกจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล ให้แก่ทหารทุกคนที่ประจำการอยู่ รวมทั้งกองทหารยุวชน จำนวน ๓๐ นายด้วย และประกาศให้ทุกคนต่อสู้อย่างเต็มกำลัง การสู้รบมีสองแนวรบ
แนวรบที่สำคัญคือ แนวรบบ้านท่าแพ ได้มีการสู้รบที่ดุเดือดที่สุด ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น ถึงขั้นตะลุมบอนกันด้วยดาบปลายปืน เหล่าทหารหาญได้ปฏิบัติการสู้รบอย่างกล้าหาญ และน่าชื่นชมอย่างยิ่ง การสู้รบได้ดำเนินการอย่างรุนแรงมาโดยตลอด ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งแสดงทีท่าจะล่าถอย ปรากฏว่าฝ่ายข้าศึกสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก จนผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ ฝ่ายทหารไทยสูญเสียทหารไป ๓๙ นาย ซึ่งจัดว่าการรบที่บ้านท่าแพเป็นจุดที่สูญเสียทหารมากที่สุดในการต้านทาน การยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นในภาคใต้
ภายหลังเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์วีรไทยขึ้น เพื่อแสดงความกล้าหาญของเหล่านักรบผู้กล้าหาญของนครศรีธรรมราช
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑.ผลงานของทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช ในการต้อสู้กับข้าศึกทหารญี่ปุ่น โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ การรบได้ดำเนินการอย่างกระชั้นชิดในเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายทหารไทยรุกเข้าไปจนถึงท่าเรือ ห่างจากเรือข้าศึกเพียง ๑๐๐ เมตร ได้เข้าตะลุมบอน มีเสียงไชโยทุกแนวที่ยึดได้ ไม่มีครั้งใดที่จะได้เห็นการต่อสู้อย่างทรหดจนถึงขั้นตะลุมบอนอย่างในครั้งนี้ ผลการรบฝ่ายข้าศึกตายมาก ผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ
๒.เกียรติคุณที่ได้รับ ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อสดุดีเกียรติคุณและรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบระหว่างทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช โดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น ตามความประสงค์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า และจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งชื่ออนุสาวรีย์ว่า "อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ. ๒๔๘๔"
อนุสาวรีย์วีรไทย ตั้งอยู่ในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ ซึ่งเดิมเป็นจุดที่รบกันอย่างรุนแรงถึงขั้นประจัญบาน ตัวอนุสาวรีย์หันหน้าไปทางทิศที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ ตัวอนุสาวรีย์สร้างเป็นทหารรบในชุดเครื่องแบบพร้อมรบ มือถือดาบปลายปืน อยู่ในท่าประจัญบาน มีขนาดสูงกว่าคนจริงสองเท่าครึ่ง ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยมภายในฐานจารึกบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในการรบ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ จำนวน ๑๑๖ นาย กองทัพภาคที่ ๔ ได้จัดงานวันวีรไทยเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญของเหล่าทหารหาญดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น