วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเมินการใช้บล็อก

1.ได้ทำบล็อกเป็นและสามารถปฏิบัติงานได้รวดเร็วขึ้น
2.ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
3.ในการปฏิบัติงานนี้มีความสะดวกมาก

สอบครั้งที่2

1.Classroom Management
การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีการบริหารจัดการในชั้นเรียน การบริหารจัดการในชั้นเรียน(Classroom management)การที่ครูผู้สอนจะจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การบริหารจัดการในห้องเรียนเป็นเรื่องที่ครูผู้สอนต้องตระหนักถึงเริ่มตั้งแต่ตัวครูต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเมตตาและเป็นมิตรกับผู้เรียน รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล รู้ภูมิหลัง ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนควรมีเครื่องมือ และทักษะในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งอาจเป็นแบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ การทำสังคมมิติ และการศึกษารายกรณี เป็นต้น นอกจากนั้นการควบคุมชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ครูควรให้ความสนใจ หากพบนักเรียนที่ปัญหาครูจะดำเนินการอย่างไร ครูต้องรู้ว่านักเรียนที่สอนอยู่ในวัยใด วัยของเขาสนใจใฝ่รู้อะไร หากครูออกแบบการจัดการเรียนได้สอดคล้องกับแต่ละเรียน เหมือนที่เราชอบเรียนวิชาอะไรในช่วงเด็กเพราะเราชอบครูใช่หรือไม่ช่วงวัยของผู้เรียน และสอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียน จะส่งผลให้ผู้เรียนมีความสนใจและตั้งใจในการ
2. Happiness Classro
Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข เป็นความสุขที่เกิดจาก ประการที่หนึ่ง ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนสนใจ สาระการเรียนรู้ชวนให้สนใจใฝ่ค้นคว้าศึกษา ท้าทายให้แสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ประการที่สองปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถ จะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
การศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong Education) หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
4. formal Education
การศึกษาในระบบ (Formal Education) คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
การศึกษานอกระบบหรือ Non-formal Education (NFE)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกใน ปี ค.ศ. 1967 ในการประชุมของ UNESCO เรื่องThe World Educational Crisis ซึ่งได้นิยามการศึกษานอกระบบ หมายถึง “การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก” โดยเน้นการเรียนรู้ (Learning) แต่ในปัจจุบันการศึกษานอกระบบคือ กระบวนการจัดการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ทั้งที่เป็นทัศนคติ ทักษะ และความรู้ซึ่งทำได้ยืดหยุ่นกว่าการเรียนในระบบโรงเรียนทั่วไป สมรรถนะที่เกิดจากการศึกษานอกระบบมีตั้งแต่ทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไข ความขัดแย้งการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้นำ การแก้ปัญหาร่วมกัน การสร้างความเชื่อมั่น ความรับผิดชอบและความมีวินัย การศึกษานอกระบบยุคใหม่จึงเน้นการเรียนรู้และสมรรถนะ
6. E-learning
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์
7. graded = ผู้สำเร็จการศึกษา
8. Policy education เรื่องการเมือง (Politics) และเรื่องการศึกษา (Education) ความเข้าใจทั้ง 2 เรื่อง ต้องไปพร้อมกันในการสร้างสังคมประชาธิปไตย เรื่อง ประชาธิปไตย จะได้เข้าใจตั้งแต่เด็ก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน (mutual understanding) ทั้งเรื่องการเมืองและการศึกษาทั่วไป เป็นสองคำที่โดยปกติจะเน้นทางการเมือง แต่ต้องไม่ลืมว่าการศึกษา (Education) มีบทบาทเป็นกลางที่สำคัญในการทำหน้าที่ให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืน สิ่งที่เราพบเห็นข่าวทางโทรทัศน์ ได้ยินทางวิทยุ ล้วนไม่ใช่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือพัฒนาพลเมือง หากแต่เป็นเพียงการรับข้อมูลข่าวสารทางการเมืองเท่านั้น (Political Information)
9. Vision ( Vision ) หมายถึง ศักยภาพของบุคคลในการหยั่งรู้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการสร้างภาพอนาคตเพื่อกำหนดเป้าหมายการทำงาน โดยอาศัยข้อมูลข้อเท็จจริงหรือความรู้และพลังแห่งการจินตนาการ
10. Missionพันธกิจ (Mission) คือ ความประสงค์ หรือความมุ่งหมายพื้นฐานขององค์กร ที่จะดำเนินการในระยะยาว อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นขอบเขตในการดำเนินงานขององค์กรหรือบริษัทก็ได้ พันธกิจที่ดีจะสามารถแยกความแตกต่างและคุณค่าขององค์กรแต่ละแห่งได้อย่างชัดเจน ดังนั้นพันธกิจจะบ่งบอกว่าธุรกิจขององค์กรคืออะไร อะไรคือสิ่งที่องค์กรต้องการจะเป็น และบางครั้งอาจจะแสดงสิ่งที่องค์กรกำลังให้บริการแก่ลูกค้าอยู่ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
11(GOAL) คือสิ่งที่เราต้องการไปให้ถึง มาจากความต้องการ ความหวัง จินตนาการ ความใฝ่ฝันที่ผู้บริหารสร้างขึ้น แต่ต้อง อยู่ในกรอบที่ไม่เพ้อฝัน และสามารถบรรลุได้ด้วยกระบวนการจัดการ เป้าหมายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกความสำเร็จ หากแต่การกระทำเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายตางหาก จะมีความหมายต่อความสำเร็จที่คาดหวัง หลายองค์กรมีเป้าหมาย แม้กระทั่งแผนดำเนินงานมากมายแต่ไม่ค่อยบรรลุเมื่อลงมือทำการ(Implement)เหตุเพราะว่าขาดการติดตามงาน ไปให้ความสำคัญของเป้าหมายมากกว่าการกระทำ เมื่อถึงปลายปีที่ต้องมาทบทวนเป้าหมาย จึงมักพบว่าไปได้ไม่ถึงไหน เป็นได้แค่เป้าที่สวยหรู
12 (Objective) หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มีลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13 Backward Design ก็คือเป็นกระบวนการของการทบทวนและขัดเกลา (Review and Refine) ในเรื่องของการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ดูเหมือน ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่ในความไม่ยุ่งยากซับซ้อนนั้น คือการยุทธศาสตร์ของการปรับเปลี่ยน กระบวนการออกแบบการจัดเรียนรู้ยุคใหม่ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์อย่างเข้มข้นจริงจัง
14 ( Effectiveness) หมายถึง ความสามารถในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ จุดสำคัญของประสิทธิผลอยู่ที่ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตที่ถูกคาดหวังตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้และผลผลิตจริงที่มีขึ้นในการนี้ขอยกตัวอย่างกรอบความคิดเรื่องการวัดผลสัมฤทธิ์ ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล
15(Efficiency) หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy =ความมัธยัสถ์
17 Equity คือผลรวมของคุณสมบัติที่โดดเด่นของแบรนด์ที่ผสานรวมกันจนเกิดเป็นความเชื่อมั่น และความคาดหวังที่กลุ่มเป้าหมายจะมีให้ต่อแบรนด์นั้นๆ ความเชื่อมั่น คือ Trust ที่สามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นมูลค่า ในขณะที่ความคาดหวัง คือ Expectation หรือ โอกาสในการขยายเครือข่ายการเติบโตแตกไลน์ของแบรนด์ ความคาดหวังเป็นปัจจัยที่จะบอกให้เรารู้ว่า แบรนด์ของเรามี “Permission” ให้ขยายตัวไปทางไหน ทั้งความเชื่อมั่น และความคาดหวัง (ซึ่งเป็นคำง่ายๆ แต่กว่าจะได้มา ยากแสนยาก) เป็นเป้าหมายสูงสุดของการสร้างแบรนด์ แบรนด์ไหนก็ตามที่อยากจะรู้ว่าตัวเองมีแบรนด์จริงๆแล้วหรือไม่ ก็ลองถามตัวเองดูว่า แบรนด์เรามีสิ่งที่เรียกว่า Equity แล้วหรือยัง หรือมีแค่ Awareness เท่านั้น ถ้ามีแค่ Awareness คือ มีคนรู้จัก แต่ยังไม่ได้มาซึ่งความเชื่อถือไว้วางใจ ยังไม่ก่อให้เกิดความคาดหวัง (เพราะคนที่รู้จักยังไม่เคยใช้เลย) ก็แปลว่าคุณยังสร้างแบรนด์ได้ไม่ถึงเป้าหมายสุดท้าย การสร้างแบรนด์วันนี้จะต้องสร้างให้ได้ถึงคำว่า “Equity” หรือพูดง่ายๆว่าต้องมีปัจจัยที่ทำให้แบรนด์เรามีทั้งคุณค่าและมูลค่า
18หรือ Empowerment” หมายถึง การทำให้บุคคลที่ปฏิบัติงานเกิดแรงจูงใจภายใน (Intrinsic motivat ion) รวมทั้ง ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองว่ามีความสามารถเพียงพอ (Self-efficacy) ที่จะทำงานนั้นสำเร็จ ให้เกิดขึ้นในตัวของผู้ปฏิบัติงาน
19 Engagement นั้น ถ้าจะแปลความแบบง่ายๆ ก็คือ การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กร คำว่าผูกพัน (Engage)นั้น กินความหมายลึกซึ้งมากนะครับ มันไม่ใช่แค่เพียงอยากอยู่กับองค์กรเท่านั้น มันยังหมายความรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านผลงานให้เกิดขึ้นกับองค์กรด้วย
20โครงการ (อังกฤษ: project) หมายถึง กระบวนการทำงานที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลายๆกิจกรรม ซึ่งมีการทำโครงการเป็นไปตามลำดับ โดยการทำงานจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นการผลิตสินค้า หรือ ทำงานบริการ โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงานโครงการจะต้องมีผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อโครงการ มีหน้าที่ทำการบริหารงาน กิจกรรมต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนงาน เหมาะสมกับเวลา และงบประมาณที่ตั้งไว้
21. activies
22. Leadership =ความสามารถในการเป็นผู้นำพฤติกรรม = การกระทำใดๆที่คนๆนั้นแสดงออกมาให้คนอื่นได้เห็นและรับรู้ถึงความต้องการ
23. leaders =ผู้นำ. การสร้างอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
24. Follows =การติดตามหลักการออกแบบ ที่รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอยนั้น เป็นระเบียบวิธีการออกแบบที่ถือปฏิบัติอย่างกว้างขวางของสถาปนิกและนักออกแบบ
25. Situations =สถานการณ์
26. Self awareness =การรับรู้ลักษณะเฉพาะของบุคคล
27. Communication = วิธีการติดต่อสื่อสาร สื่อสาร (ดอทคอมย่อมัก) คือการทำงาน, การสื่อสารการกระทำของ, การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในการถ่ายทอดสำหรับคนบางคนหมายถึงการใช้และ เทคนิค สำหรับการเผยแพร่ข้อความไปยัง ผู้ชมมากหรือน้อยในวงกว้างและไม่เหมือนกันและการดำเนินการกับใครสักคนข้อมูล ทางธุรกิจและส่งเสริมกิจกรรมต่อสาธารณะ, รักษาภาพพจน์ของมันโดยกระบวนการทางสื่อ
28. Assertiveness = [การ ,ความ]ซึ่งยืนยันอย่างมั่นใจ
29. Time management = ความสามารถในการจัดการค่าจ้าง
30. POSDCoRB =กลายเป็นคัมภีร์ของการจัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมายถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมายถึง การรายงาน
B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders =ผู้นำซึ่งเป็นชุดที่เป็นทางการ
32. Informal Leaders =ผู้นำซึ่งเป็นกันเอง
33. Environment =สภาพแวดล้อม
34. Globalization = โลกาภิวัตน์
35. Competency =ความสามารถสมรรถนะ (Competency) หมายถึง ความรู้ (Knowlege) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่จำเป็นในการ
ปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง (Job Roles) ให้ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่นกว่าคนอื่น ๆ ในเชิงพฤติกรรม เช่น มากกว่าเพื่อนร่วมงาน ในสถานการณ์ที่หลากหลายกว่า และได้ผลงานดีกว่าคนอื่น เป็นต้น
36. Organization Cultural =ทางวัฒนธรรมองค์กร
37. Individual Behavior = พฤติกรรมบุคคลคือการกระทำของแต่ละบุคคล
38. Group Behavior =พฤติกรรมกลุ่ม
39. Organization Behavior = พฤติกรรมองค์กรองค์กรจะสร้างรูปแบบของการดำเนินงาน ตลอดจนการปฎิบัติงานต่าง ๆ ขึ้น เพื่อสนองตอบการเปลี่ยนของสิ่งแวดล้อม และสภาวะที่เกิดจากการดำเนินงานของบุคคลและของกลุ่ม หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแบบเฉพาะในการดำเนินงานที่องค์กรสร้างขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการปรับองค์ประกอบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันและกันได้
40. Team working = กลุ่มคนทำงานหรือเล่นกีฬาในกลุ่มเดียวกัน[กำลัง,การ]เป็นผลสำเร็จ
41. Six Thinking Hats =การคิดแบบหมวก 6 ใบ ขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
42. Classroom Action Research =การวิจัยอากัปกิริยาห้องเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

1. Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการในชั้นเรียน โดยครูผู้สอนจะเป็นคนกำหนดว่าห้องเรียนนั้นจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครูผู้สอน และครูก็จะต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี จะต้องมีความเมตตาและเป็นมิตรกับนักเรียน และที่สำคัญ ครูจะต้องเข้ากับเด็กได้ทุกคนและรู้รายละเอียดที่สำคัญในตัวนักเรียนด้วย นอกจากนั้นการจัดการในชั้นเรียนครูควรให้ความสนใจเด็กทุกคนอย่างเท่าเทียบกัน รู้ว่าเด็กท่เราสอนอยู่ในวัยและชอบอะไร เพื่อที่จะได้จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของตัวผู้เรียน
2. ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
มาตราฐานการปฏิบัติตน หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
3. ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสนใจใคร่รู้ใคร่เรียนให้แก่ผู้เรียน ชั้นเรียนที่มีบรรยากาศเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน ย่อมเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาโรงเรียน เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ผู้เป็นครูจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ ประเภทของบรรยากาศ หลักการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีลักษณะตามที่หลักสูตรได้กำหนดไว้
เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3. ควรจัดชั้นเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
4. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ชั้นเรียนจะน่าอยู่ก็ตรงที่นักเรียนรู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นชั้นเรียน โต๊ะม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง ขอบกระดานชอล์ก แปลงลบกระดาน ฝาผนังเพดาน ซอกมุมของห้อง ถังขยะต้องล้างทุกวัน เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็น และบริเวณที่ตั้งถังขยะจะต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นแหล่งบ่อเกิดเชื้อโรค
5. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างความเป็นระเบียบ ทุกอย่างจัดให้เป็นระเบียบทั่งอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ เช่นการจัดโต๊ะ ชั้นวางของและหนังสือ แม้แต่การใช้สิ่งของก็ให้นักเรียนได้รู้จักหยิบใช้ เก็บในที่เดิม จะให้นักเรียนเคยชินกับความเป็นระเบียบ
6. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมประชาธิปไตย โดยครูอาจจัดดังนี้
6.1 จัดให้นักเรียนเข้ากลุ่มทำงาน โดยให้มีการหมุนเวียนกลุ่มกันไป เพื่อให้ได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น
6.2 จัดที่นั่งของนักเรียนให้สลับที่กันเสมอ เพื่อให้ทุกคนได้มีสิทธิที่จะนั่งในจุดต่างๆ ของห้องเรียน
6.3 จัดโอกาสให้นักเรียนได้หมุนเวียนกันเป็นผู้นำกลุ่ม เพื่อฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
7. ควรจัดชั้นเรียนให้เอื้อต่อหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปัจจุบันเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และให้ใช้กระบวนการสอนต่างๆ ดังนั้นครูจึงควรจัดสภาพห้องให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เช่น การจัดที่นั่งในรูปแบบต่างๆ อาจเป็นรูปตัวยู ตัวที หรือครึ่งวงกลม หรือจัดเป็นแถวตอนลึกให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนการสอนและการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาให้ผู้เรียนรู้สึกกล้าถามกล้าตอบ กล้าแสดงความคิดเห็น เกิดความใคร่รู้ ใคร่เรียน ซึ่งจะเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตน พัฒนาอาชีพ พัฒนาสังคม และเป็นคนเก่ง ดี มีความสุขได้ในที่สุด
จากที่กล่าวมาทั่งหมด สรุปได้ว่า หลักการจัดชั้นเรียน คือ การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ และการจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยาในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ และเพื่อการพัฒนาผู้เรียนทั่งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป4. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1) และข้อ (2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ทางโรงเรียนต้องมีการจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย สภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้นักเรียนมีสุขภาพ ทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งมีอิทธิผลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนเป็นอันมาก ครูมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น ให้นักเรียนจัดหรือติดอุปกรณ์ให้มีสีสวยงาม จัดกระถางต้นไม้ประดับชั้นเรียน จัดที่ว่างของชั้นเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรม คอยให้คำแนะนำในการอ่านหนังสือ ค้นคว้าแก้ปัญหา และครูควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ไม่ให้เครียด เป็นกันเองกับนักเรียน ให้นักเรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน
5. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
คุณภาพผู้เรียนต้องประกอบด้วย
มาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวอย่าง
1.1 มีวินัย มีความรับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามหลักธรรมเบื้องต้นของศาสนาที่ตนนับถือ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.3 มีความกตัญญูกตเวที
1.4 มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละเพื่อส่วนรวม
1.5 ประหยัด รู้จักใช้ทรัพย์สิ่งของส่วนตน และส่วนรวมอย่างคุ้มค่า
1.6 ภูมิใจในความเป็นไทย เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย นิยมไทย และดำรงไว้ซึ่งความเป็นไทย
มาตรฐานที่ 2 ผู้เรียนมีจิตสำนึก ในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
2.1 รู้คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม
2.2 เข้าร่วมหรือมีส่วนร่วมกิจกรรม/โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับ
ผู้อื่นได้ และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ตัวอย่าง
3.1 มีทักษะในการจัดการและทำงานให้สำเร็จ
3.2 เพียรพยายาม ขยัน อดทน ละเอียดรอบคอบในการทำงาน
3.3 ทำงานอย่างมีความสุข พัฒนางานและภูมิใจในผลงานของตนเอง
3.4 ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
3.5 มีความรู้สึกที่ดีต่ออาชีพสุจริตและหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตนสนใจ



มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ
มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์
ตัวอย่าง
4.1 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปความคิดรวบยอด คิดอย่างเป็นระบบและมีการคิดแบบองค์รวม
4.2 สามารถคาดการณ์ กำหนดเป้าหมาย และแนวทางการตัดสินใจได้
4.3 ประเมินและเลือกแนวทางการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ
4.4 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มองโลกในแง่ดี และมีจินตนาการ
มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
ตัวอย่าง
5.1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.2 มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์
5.3 สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียน หรือนำเสนอด้วยวิธีต่างๆ
5.4 สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู
มาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และ
พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่าง
6.1 มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการฟัง รู้จักตั้งคำถามเพื่อหาเหตุผล
6.2 สนใจแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ รอบตัว ใช้ห้องสมุด แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆได้ ทั้งในและนอกสถานศึกษา
6.3 มีวิธีการเรียนรู้ของตนเอง เรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ สนุกกับการเรียนรู้และชอบมาโรงเรียน
มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
ตัวอย่าง
7.1 มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
7.2 มีน้ำหนัก ส่วนสูง และมีสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์
7.3 ป้องกันตนเองจากสิ่งเสพติดให้โทษและหลีกเลี่ยงสภาวะที่เสี่ยงต่อความรุนแรง โรคภัย อุบัติเหตุ และปัญหาทางเพศ
7.4 มีความมั่นใจ กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม และให้เกียรติผู้อื่น
7.5 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อน ครู และผู้อื่น
มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และกีฬา
ตัวอย่าง
8.1 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านศิลปะ
8.2 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านดนตรี/นาฏศิลป์
8.3 ชื่นชม ร่วมกิจกรรม และมีผลงานด้านกีฬา/นันทนาการ
6. ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
การพัฒนาคนหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาคนก็คือ การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลาย ๆ รูปแบบ โรงเรียนมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีงาม ให้แก่นักเรียนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
โดยทางโรงเรียนต้องตระหนักในความสำคัญส่วนนี้ จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเด็กให้เป็นคนดี เป็นผู้มีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ ให้นักเรียนได้สัมผัสความดีที่เป็นรูปธรรม จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียน ในรูปแบบของวิถีชีวิตไทย การออมทรัพย์วันละบาท และธนาคารแห่งคุณธรรม
การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจริยธรรมให้นักเรียน ด้วยการปรับปรุงระเบียบการลงโทษนักเรียน มาเป็นระเบียบการส่งเสริมความประพฤตินักเรียน งดการลงโทษทุกวิธี แต่เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมให้นักเรียน ทำความดีทดแทนความผิด ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ 5 ขั้นตอนคือ
1. ให้นักเรียนวิเคราะห์ความผิดของตนเอง
2. ครูอาจารย์ ชมว่านักเรียนเป็นคนซื่อสัตย์ ทำผิดแล้วยอมรับผิด
3. ให้นักเรียนเสนอวิธีทำความดีทดแทน
4. นักเรียนปฏิบัติตามวิธีที่เสนอและครูอาจารย์ติดตามผล
5. ประกาศความดีให้ทุกคนประจักษ์
จะทำให้นักเรียนทุกคนมีศักดิ์ศรี มีคุณค่า มีความแตกต่างทำให้เกิดความมุ่งมั่นว่า เด็กทุกคนสามารถพัฒนาให้เป็นคนดีได้ ซึ่งต้องใช้ทฤษฎีเสริมแรงเข้าช่วย โดยการให้ความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ความเป็นกัลยาณมิตร การยอมรับซึ่งกันและกัน การให้รางวัลแทนการลงโทษ ให้โอกาส และสร้างโอกาสให้นักเรียนประพฤติตนเป็นคนดี
ทางโรงเรียนต้องจัดทำโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเพื่อนรักรักเพื่อน" มุ่งเน้นให้นักเรียนกระทำตนเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ เสียสละ ขยัน ประหยัด อดทน และมีสัมมาคารวะ จึงเป็นเพื่อนที่รักของนักเรียนคนอื่น ๆ ขณะเดียวกันก็จะเลือกคบเพื่อนรักที่เป็นคนดีและสามารถพัฒนาตนเองจนเป็นที่รักของทุกคน ในโครงการดังกล่าวนี้จะประกอบด้วยกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมที่เป็นหัวใจสำคัญของโครงการคือ
1. กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
2. กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
3. กิจกรรมธนาคารแห่งคุณธรรม กิจกรรมวิถีชีวิตในโรงเรียน
เป็นการปฏิบัติตนของนักเรียน เริ่มตั้งแต่นักเรียนมาถึงโรงเรียนในตอนเช้าบริเวณประตูโรงเรียน บริเวณโรงอาหาร ในห้องเรียน ก่อนเข้าแถว การเล่นนอกห้องเรียน การเข้าแถวเคารพธงชาติ โฮมรูม การเข้าแถวไปเรียนวิชาพิเศษ มารยาทในห้องเรียน การใช้ห้องน้ำห้องส้วม การรับประทานอาหารกลางวัน การทิ้งขยะ การรอผู้ปกครอง การกลับรถรับ - ส่ง
กิจกรรมออมทรัพย์วันละบาท
นักเรียนในแต่ละห้องฝากเงินออมทรัพย์ประจำวัน กับเจ้าหน้าที่การเงินของห้อง และเมื่อสิ้นปีการศึกษา ประมาณต้นเดือนมีนาคมอาจารย์ที่ปรึกษา เบิกเงินจากธนาคารจ่ายคืนให้คณะกรรมการ นักเรียนที่ทำหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ของกิจกรรมออมทรัพย์เพื่อจ่ายคืนแก่ผู้ฝากแต่ละห้อง ตามจำนวนเงินในหลักฐานสมุดบัญชีของห้อง

กิจกรรมที่ 14

Mind Map หรือ Mind-Map แปลตรงตัวว่าแผนที่ความคิด เป็นทฤษฎีในการนำเอาสมองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์ ทฤษฎีนี้คิดขึ้นโดยโทนี บูซาน (Tony Buzan) นักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ในปัจจุบันทฤษฎีของโทนี บูซาน ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาช่วยในการเขียนแผนที่ความคิด การเขียนแผนที่ความคิดในอดีตจะเน้นเขียนลงบนกระดาษว่างๆ จากจุดศูนย์กลาง กระจายเป็นรูปดาวคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้ (การแตกของเส้นเซลสมอง) ปัจจุบันมีทางลัดในการสร้างแผนที่ความคิดโดยการใช้ทูลหรือซอฟต์แวร์ช่วย (มีให้เลือกใช้งานหลายตัวทั้ง Commercial และ Open Source) ข้อดีของการใช้ซอฟต์แวร์คือสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ มีตัวอย่างแผนที่ความคิดให้เลือกใช้งานมากมาย

โทนี บูซาน (Tony Buzan)
Mind Map เป็นแผนผัง (Diagram) ใช้เพื่อแสดงคำหรือแนวความคิดของมนุษย์ที่แผ่ออกออกจากศูนย์กลาง ใช้การสื่อความหมายด้วยข้อความและรูปภาพคล้ายๆ การแตกกิ่งก้านของต้นไม้. Mind Map ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจุดกำเนิด หรือจุดเริ่มต้นในการทำงานต่างๆ, การจินตนาการ
Mind Map ช่วยทำให้สิ่งต่างๆ มองภาพได้ง่ายขึ้น อาทิ
• สร้างจากสิ่งที่เป็นนามธรรมสู่รูปธรรม
• ช่วยในการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์
• ใช้แก้ปัญหาปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
• ใช้ในการทำการตัดสินใจกรณีมีทางเลือกหลายๆ ทาง
การนำไปประยุกต์ใช้งาน
ผู้ใช้สามารถนำโปรแกรมไปสร้างสรรค์งานได้อย่างหลากหลาย อาทิเช่น
ใช้สร้างแผนที่ความคิด (Mind Map)
ใช้สรุปรายงานการประชุม (Meeting minutes)
ใช้ระดมความคิดเห็น (Brain storming )
ใช้ประกอบการเรียนการสอน (Teaching)
ใช้วางแผนโครงการ (Project planning)
ใช้นำเสนอผลงานแทนโปรแกรม PowerPoint (Presentation)
ใช้ในการอบรมและบรรยายที่ต่างๆ (Training)
ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ความรู้ แนวคิด (capture tacit knowledge )
ใช้สรุปแนวคิดเชิงประดิษฐ์และการคิดวิกฤต(คิดก่อนล่วงหน้า) (creative and critical thinking)
ใช้สร้างผังงานต่างๆ เช่น ผังองค์กร ผังก้างปลา
ฯลฯ
หมวกคิด 6 ใบ six Thinking Hats

หมวกคิด 6 ใบ คือวิธีการสอนทักษะการคิด ของ Edward De Bono (2545) โดยให้ผู้เรียนได้ฝึกคิดในด้านต่าง ๆ โดยใช้สีของหมวก คือ สีแดง สีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง และสีฟ้า เป็นชื่อหมวก สีของหมวกแต่ละใบสอดคล้องกับแนวความคิดของหมวกแต่ละใบ สีของหมวกแทนประเภทของการคิดแต่ละแบบ ถ้าผู้เรียนสวมหมวกสีใด ผู้เรียนต้องคิดตามความหมายของสีหมวกนั้น ๆ การเปลี่ยนหมวกแต่ละสี คือการเปลี่ยนรูปแบบของการคิดเป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมทักษะการคิด อารมณ์ ความรู้สึก และสามารถพัฒนาให้เยาวชนมีทักษะการคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ เนื่องจากการคิดแบบหมวกคิด 6 ใบ เป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้เรียน คิดแตกต่างไปจากแนวความคิดเดิม ๆ ซึ่งเรียกว่าการคิดนอกกรอบ หรือการคิดแนวขนาน (Creative or Parallel Thinking) ซึ่งสอดรับกับเป้าหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือต้องการให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย สติปัญญา และสังคม มีทักษะการคิดระดับสูง มียุทธศาสตร์การคิดของตนเอง และควบคุมการคิดของตนเองได้
สรุปศัตรูที่สำคัญของการคิดคือ ความยุ่งยากซับซ้อนเพราะจะนำไปสู่ความสับสน หากการคิดเป็นไปอย่างชัดเจนและไม่ยุ่งยาก การคิดจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกและความคิดที่มีประสิทธิภาพมาก วิธีคิดแบบหมวกคิด 6 ใบ มีเป้าหมายคือ ทำให้การคิดง่ายขึ้นโดยผู้คิดคิดแต่ละด้านอย่างรอบคอบ ช่วยให้ผู้คิดสามารถจัดการแต่ละอย่าง แยกจากกัน นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งของวิธีคิดแบบหมวก 6 ใบนี้ก็เพื่อให้มีการสับเปลี่ยนแนวความคิดบ้าง วิธีนี้มีประโยชน์มากที่สุด ถ้าทุกคนในกลุ่มหรือองค์กรมีความเข้าใจเรื่องตรงกัน และร่วมมือกันสวมบทบาทสมมติ ทำตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้ ก็จะช่วยลดการประชุมที่มีการถกเถียงกันตลอดเวลาและสามารถนำพาทุกคนไปสู่จุดมุ่งหมายหลักของตนและขององค์กรได้ด้วยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่า “ เมื่อใดที่เราเปลี่ยนความคิดได้ เมื่อนั้นเราก็เปลี่ยนวิถีชีวิตได้”
หากผู้สอนนำวิธีคิดหมวกคิด 6 ใบมาสอดแทรกในกระบวนการคิดในรูปแบบต่างๆ เช่น การคิดแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดสร้างสรรค์ โดยมีการเตรียมขั้นตอนการสอนคิดแบบหมวกคิด 6 ใบให้เหมาะสมกับหัวเรื่อง จะสามารถลดระยะเวลาในการคิดของผู้เรียน และเพิ่มคุณภาพของการคิดมากขึ้น กล่าวคือ ผู้เรียนสามารถเสนอความคิดในเรื่องนั้นได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะทำให้ผู้เรียนเกิดความชัดเจนในการคิดแต่ละครั้ง เป็นการกำหนดทิศทางให้ผู้เรียนคิด เพียงด้านเดียว แทนการให้ผู้เรียนคิดหลายด้านพร้อมกัน
การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
แนวคิด การสอนแบบโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
ความหมาย การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนเหมือนกับการทำงานในชีวิตจริง
วัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง
ขั้นตอนในการสอนทำโครงงานการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมี 4 ขั้นตอน คือ
1. กำหนดความมุ่งหมายและลักษณะโครงงานโดยตัวนักเรียนเอง
2. วางแผนหรือวางโครงงาน นักเรียนต้องช่วยกันวางแผนว่าจะทำอะไร ใช้วิธีการหรือกิจกรรมใด จึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
3. ขั้นดำเนินการ ลงมือทำกิจกรรมหรือแก้ปัญหา
4. ประเมินผล โดยประเมินว่ากิจกรรมหรือโครงงานนั้นบรรลุผลตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ มีข้อบกพร่อง และควรแก้ไขให้ดีขึ้นอย่างไร
วิธีการทำโครงงาน
1. ประชุมปรึกษาหารือ เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับหัวข้อของโครงงาน จากสิ่งต่อไปนี้
- การสังเกต หรือตามที่สงสัย
- ความรู้ในวิชาต่าง ๆ
- จากปัญหาใกล้ตัว หรือการเล่น
- คำบอกเล่าของผู้ใหญ่ หรือผู้รู้
2. เขียนหลักการ เหตุผล ที่มาของโครงงาน
3. ตั้งวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
4. กำหนดวิธีการศึกษา เช่น การสำรวจ การทดลอง เป็นต้น
5. นำผลการศึกษามาอภิปรายกลุ่ม
6. สรุปผลการศึกษา โดยการอภิปรายกลุ่ม
7. ปรับปรุงชื่อโครงงาน ให้ครอบคลุม น่าสนใจ
การประเมินผลการทำโครงงาน
1. ชื่อเรื่องแสดงถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
2. ชื่อเรื่องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาคำถามมีการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความคิด
3. สมมติฐานมีการแสดงถึงพื้นฐานความรู้เดิม
4. วิธีการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
5. แหล่งศึกษาสามารถค้นคว้าคำตอบได้
6. วิธีการนำเสนอชัดเจน เหมาะสมกับเนื้อหาและเวลา

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

1.ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่ "มากไป" มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธา

ตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อยและที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
น้อย ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน ว่ายน้ำ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปฏิบัติต่อนักเรียน ดังนี้
1.1จัดทำระเบียนประวัตินักเรียน ให้เป็นปัจจุบัน
1.2จัดทำแบบ SDQ
1.3ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัด EQ
1.4สำรวจน้ำหนักและส่วนสูง ของนักเรียน
1.5ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน เยี่ยมหอพัก และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย
2.การคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบคัดกรองนักเรียน คัดกรองนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาช่วยในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ข้อมูลจาก
2.1การสังเกต ของอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการสังเกตพฤติกรรม
2.2ระเบียนประวัตินักเรียน ให้เป็นปัจจุบัน
2.3แบบ SDQ
2.4แบบทดสอบวัด EQ
2.5การสำรวจน้ำหนักและส่วนสูง
2.6ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน เยี่ยมหอพัก และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย
2.7ตรวจปัสสาวะ
3.การส่งเสริมนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปฏิบัติต่อ
นักเรียน ดังนี้
3.1 อบรมนักเรียนตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ในคาบแรกทุกวัน (โฮมรูม) แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการโฮมรูม ส่งฝ่ายปกครองเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้คู่มือการโฮมรูม ประกอบการโฮมรูม
3.2 โรงเรียน จัดกิจกรรม และโครงการส่งเสริมนักเรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4.การป้องกันและแก้ไขปัญหา อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนปฏิบัติต่อนักเรียน ดังนี้
4.1 สำรวจสถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน ทุกเช้า นำข้อมูลส่งอาจารย์ที่หัวหน้าระดับ
ทุกเช้าก่อนเข้าโฮมรูม
4.2 ให้นักเรียนทำแบบขออนุญาตออกนอกโรงเรียน เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกโรงเรียน
4.3 ให้นักเรียนบันทึกพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของนักเรียนไว้
4.4 ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองทราบ เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่ เบี่ยงเบน
4.5 ทำหนังสือเชิญผู้ปกครองมาพบครูที่ปรึกษา เมื่อนักเรียนยังไม่ปรับปรุงพฤติกรรม
4.6. จัดทำกิจกรรมและโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไข เช่น
(1)โครงการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดสากล
(2)โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน การเยี่ยมหอพักนักเรียน ประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย เป็นต้น

5.การส่งต่อ เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่สามารถที่จะแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนได้ ให้ส่งต่อนักเรียนคนนั้น ไปให้อาจารย์ฝ่ายแนะแนว ซี่งเป็นนักจิตวิทยาของโรงเรียน หรือโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลช่วยเหลือต่อไป
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เช่น
-การฝึกทำงานเป็นกลุ่ม
-การฝึกสมาธิ เป็นต้น
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
โรงเรียนจะประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆได้ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มี เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป เช่น
ระบบประเมินสุขภาพด้วยตนเองสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรีย และผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่มีอายุอยู่ระหว่าง 10-18 ปี สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสุขภาพของตนเองว่ามีภาวะสุขภาพที่ดี หรือมีความผิดปกติ ตลอดจนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยในเรื่องต่างๆ รวม 8 เรื่องหรือไม่ คือ
-ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
-ภาวะการเจริญเติบโต
-โรคหรือความผิดปกติของร่างกาย
-ภาวะสายตาและการได้ยิน
-ความสุข
-สมรรถภาพทางกาย
-พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
-พฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ

กิจกรรมที่12


วีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๒ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติความเป็นมา
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราชในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ โดยการนำของพลโทอิอิด้า ส่วนกองทัพไทยได้แต่งตั้งให้พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ ซึ่งหลวงเสนาณรงค์ได้รับรายงานข่าวว่าเรือรบญี่ปุ่นมาปิดปากอ่าวและยกพลขึ้นบกที่สงขลา จึงได้เตรียมความพร้อมในการรับมือข้าศึก แม้ขณะนั้นฝนจะตกหนัก ในที่สุดก็ได้รับรายงานว่า มีเรือรบญี่ปุ่น จำนวน ๓ ลำกำลังลำเลียงพลด้วยเรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ พลตรีหลวงเสนาณรงค์ได้สั่งการให้เปิดคลังแสง แจกจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล ให้แก่ทหารทุกคนที่ประจำการอยู่ รวมทั้งกองทหารยุวชน จำนวน ๓๐ นายด้วย และประกาศให้ทุกคนต่อสู้อย่างเต็มกำลัง การสู้รบมีสองแนวรบ
แนวรบที่สำคัญคือ แนวรบบ้านท่าแพ ได้มีการสู้รบที่ดุเดือดที่สุด ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น ถึงขั้นตะลุมบอนกันด้วยดาบปลายปืน เหล่าทหารหาญได้ปฏิบัติการสู้รบอย่างกล้าหาญ และน่าชื่นชมอย่างยิ่ง การสู้รบได้ดำเนินการอย่างรุนแรงมาโดยตลอด ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งแสดงทีท่าจะล่าถอย ปรากฏว่าฝ่ายข้าศึกสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก จนผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ ฝ่ายทหารไทยสูญเสียทหารไป ๓๙ นาย ซึ่งจัดว่าการรบที่บ้านท่าแพเป็นจุดที่สูญเสียทหารมากที่สุดในการต้านทาน การยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นในภาคใต้
ภายหลังเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์วีรไทยขึ้น เพื่อแสดงความกล้าหาญของเหล่านักรบผู้กล้าหาญของนครศรีธรรมราช
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑.ผลงานของทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช ในการต้อสู้กับข้าศึกทหารญี่ปุ่น โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ การรบได้ดำเนินการอย่างกระชั้นชิดในเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายทหารไทยรุกเข้าไปจนถึงท่าเรือ ห่างจากเรือข้าศึกเพียง ๑๐๐ เมตร ได้เข้าตะลุมบอน มีเสียงไชโยทุกแนวที่ยึดได้ ไม่มีครั้งใดที่จะได้เห็นการต่อสู้อย่างทรหดจนถึงขั้นตะลุมบอนอย่างในครั้งนี้ ผลการรบฝ่ายข้าศึกตายมาก ผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ
๒.เกียรติคุณที่ได้รับ ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อสดุดีเกียรติคุณและรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบระหว่างทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช โดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น ตามความประสงค์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า และจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งชื่ออนุสาวรีย์ว่า "อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ. ๒๔๘๔"
อนุสาวรีย์วีรไทย ตั้งอยู่ในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ ซึ่งเดิมเป็นจุดที่รบกันอย่างรุนแรงถึงขั้นประจัญบาน ตัวอนุสาวรีย์หันหน้าไปทางทิศที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ ตัวอนุสาวรีย์สร้างเป็นทหารรบในชุดเครื่องแบบพร้อมรบ มือถือดาบปลายปืน อยู่ในท่าประจัญบาน มีขนาดสูงกว่าคนจริงสองเท่าครึ่ง ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยมภายในฐานจารึกบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในการรบ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ จำนวน ๑๑๖ นาย กองทัพภาคที่ ๔ ได้จัดงานวันวีรไทยเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญของเหล่าทหารหาญดังกล่าว

กิจกรรมที่11

แผนการเรียนรู้ที่ ๑ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
มาตรฐาน ชั้น ป.๑ เวลา ๓ ชั่วโมง.
สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
ความคิดรวบยอด
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา จึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ
สาระการเรียนรู้
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย
ผลการเรียนรู้
๑.อธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนาได้
๒.บอกเรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้
๓.ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีได้
๔.บรรยายประโยชน์ของการนับถือศาสนาได้
กระบวนการเรียนรู้
มี ๖ ขั้นตอน ดังนี้
๑.ขั้นเกริ่นนำ
ให้นักเรียนร้องเพลง เล่านิทาน เล่นเกม หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อม
นักเรียน เช่น ร้องเพลง หัวใจพระพุทธศาสนา พร้อมกับปรบมือตามจังหวะเพลง
เพลงหัวใจพระพุทธศาสนา
มูลนิธิแสงเทียน
เพื่อนเอยอยากรู้ไหมว่า พระพุทธศาสนาสอนว่าอย่างไร
ฟังนะฉันจะบอกให้ จงตั้งใจจดจำให้ดี
หนึ่งละเว้นความชั่ว อย่าเกลือกกลั้วให้เสื่อมศรี
สองสร้างสมความดี ให้ก่อเกิดมีความสุขใจกาย
สามทิ้งความเศร้าหมอง อย่าให้ครองดวงจิตผ่องใส
สามข้อที่กล่าวไป คือหัวใจพระพุทธศาสน์เอย
๒.ขั้นประสบการณ์
ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
๑.ครูซักถามนักเรียนว่า นับถือศาสนาอะไร ให้นักเรียนตอบทีละคน จากนั้น ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาว่า นักเรียนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แล้วทุกคนทราบหรือไม่ว่า พระพุทธศาสนาคืออะไร และมีความสำคัญต่อเราอย่างไร
๒.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
-พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
-พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่จากประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศไทยนานมาแล้ว
-วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนา จนกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย
๓.ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ จัดทำเป็นผลงานศาสนาประจำชาติไทย แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๒ เรื่อง สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
๑.ครูนำภาพธงชาติไทยหรือธงของจริง มาให้นักเรียนดู แล้วซักถามนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของสีที่อยู่ในธงชาติ
๒.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความหมายของสีในธงชาติไทย ดังนี้
-สีแดง แทน ชาติ
-สีขาว แทน ศาสนา
-สีน้ำเงิน แทน พระมหากษัตริย์
๓.ครูอภิปรายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังว่า พระพุทธศาสนา นอกจากเป็นศาสนาประจำชาติไทยแล้ว ยังถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพราะในธงชาติไทยได้ใช้สีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาที่คนไทยนับถือ ซึ่งก็คือ พระพุทธศาสนา นั่นเอง
๔.ให้นักเรียนระบายสีธงชาติไทยให้ถูกต้อง และชี้บอกว่า แถบสีใดแทนพระพุทธศาสนาจัดทำเป็นผลงานชิ้นที่ ๒ สัญลักษณ์ประจำชาติไทย แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๓ เรื่อง พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
๑.ครูซักถามนักเรียนว่า พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้างให้
นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น
๒.ครูนำภาพคนกำลังใส่บาตร คนกำลังเวียนเทียน การบวชพระ มาให้นักเรียนดู แล้วครู ซักถามนักเรียนว่า เคยทำหรือเคยเห็นเหตุการณ์อย่างในภาพหรือไม่
๓.ครูสนทนากับนักเรียนว่า พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยหลาย
เรื่อง เช่น
-ทุกเช้าจะมีพระสงฆ์ออกบิณฑบาตตามบ้านเรือน และมีผู้คนคอยใส่บาตรพระสงฆ์
-ชายไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ถือเป็นประเพณีว่า เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ควรบวชเพื่อศึกษาพระธรรม
-ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธจะไปร่วมทำบุญตักบาตรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
๔.ให้นักเรียนสำรวจตนเองว่า เคยทำสิ่งใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยขีด / ทับข้อความ ขีด / ลงในตารางตามความเป็นจริง และขีด / หรือกา X ทับภาพที่ถูกต้อง พร้อมกับบอกเหตุผล จัดทำเป็นผลงานชิ้นที่ ๓ พุทธศาสนิกชนที่ดี แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๔ เรื่อง พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ให้นักเรียนติดภาพ หรือวาดภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชาวพุทธที่ดี ที่ตนเองเคยปฏิบัติและอยากปฏิบัติมาอย่างละ ๑ ภาพ พร้อมกับเขียนบอกว่า เป็นการกระทำในเรื่องใด จัดทำเป็นผลงานชาวพุทธที่ดี จากนั้น นำผลงานมาแลกเปลี่ยนกันดูกับเพื่อนในชั้นเพื่อแนะนำให้เพื่อนๆ นำไปปฏิบัติ แล้วผลัดกันออกมารายงานที่หน้าชั้น
๓. ขั้นสะท้อนความคิด
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทำกิจกรรมแล้วนำเสนอผลงาน จากนั้นนำผลงานมาจัดป้ายนิเทศ
๔. ขั้นทฤษฎี
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ถ้านักเรียนรายงานผลการทำกิจกรรมในขั้นสะท้อนความคิดไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
๒.ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้จาก ใบความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
๕. ขั้นนำไปใช้

กิจกรรมที่ ๕ เรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายและเขียนเป็นแผนผังความคิด จัดทำเป็นผลงานแผนผังความคิด แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
๖. ขั้นสรุป
๑. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย จากนั้น ครูตรวจแบบฝึกหัดพร้อมกับเฉลยคำตอบ
๒. ให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม แล้วเก็บผลงานไว้ในแฟ้มผลงานนักเรียน จากนั้น
ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
สื่อการเรียนรู้
๑.ใบผลงานและวัสดุอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ในใบผลงาน
๒.ใบความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
การประเมินผล
๑.ประเมินตามสภาพจริง
๑.๑ สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน
๑.๒ ฟังรายงานผลการทำกิจกรรมของนักเรียน
๒.ตรวจผลงานในแฟ้มผลงานนักเรียน
๓.ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย

เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์การประเมินคุณภาพของผลงานที่นักเรียนทำ