วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

1.ในปัจจุบัน เด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่ "มากไป" มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธา

ตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อยและที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน
2) ในปัจจุบันเด็กไทย(รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด(ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
น้อย ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบดบินตัน ว่ายน้ำ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น แต่ปัจจัยหลักก็มีอยู่หลายอย่าง
3) เด็กไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การเลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็นเด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
การดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดำเนินการโดยอาศัยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ คือ
1. การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปฏิบัติต่อนักเรียน ดังนี้
1.1จัดทำระเบียนประวัตินักเรียน ให้เป็นปัจจุบัน
1.2จัดทำแบบ SDQ
1.3ให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัด EQ
1.4สำรวจน้ำหนักและส่วนสูง ของนักเรียน
1.5ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน เยี่ยมหอพัก และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย
2.การคัดกรองนักเรียน โดยใช้แบบคัดกรองนักเรียน คัดกรองนักเรียน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อจะได้นำข้อมูลมาช่วยในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ข้อมูลจาก
2.1การสังเกต ของอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยการสังเกตพฤติกรรม
2.2ระเบียนประวัตินักเรียน ให้เป็นปัจจุบัน
2.3แบบ SDQ
2.4แบบทดสอบวัด EQ
2.5การสำรวจน้ำหนักและส่วนสูง
2.6ไปเยี่ยมบ้านนักเรียน เยี่ยมหอพัก และประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย
2.7ตรวจปัสสาวะ
3.การส่งเสริมนักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียน ปฏิบัติต่อ
นักเรียน ดังนี้
3.1 อบรมนักเรียนตอนเช้าก่อนเข้าเรียน ในคาบแรกทุกวัน (โฮมรูม) แล้วบันทึกลงในแบบบันทึกการโฮมรูม ส่งฝ่ายปกครองเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้คู่มือการโฮมรูม ประกอบการโฮมรูม
3.2 โรงเรียน จัดกิจกรรม และโครงการส่งเสริมนักเรียน ให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4.การป้องกันและแก้ไขปัญหา อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ดูแลช่วยเหลือนักเรียนปฏิบัติต่อนักเรียน ดังนี้
4.1 สำรวจสถิติการมาโรงเรียนของนักเรียน ทุกเช้า นำข้อมูลส่งอาจารย์ที่หัวหน้าระดับ
ทุกเช้าก่อนเข้าโฮมรูม
4.2 ให้นักเรียนทำแบบขออนุญาตออกนอกโรงเรียน เมื่อมีความจำเป็นต้องออกนอกโรงเรียน
4.3 ให้นักเรียนบันทึกพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของนักเรียนไว้
4.4 ทำหนังสือแจ้งผู้ปกครองทราบ เมื่อนักเรียนมีพฤติกรรมที่ เบี่ยงเบน
4.5 ทำหนังสือเชิญผู้ปกครองมาพบครูที่ปรึกษา เมื่อนักเรียนยังไม่ปรับปรุงพฤติกรรม
4.6. จัดทำกิจกรรมและโครงการเพื่อป้องกันและแก้ไข เช่น
(1)โครงการจัดกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านยาเสพติดสากล
(2)โครงการเยี่ยมบ้านนักเรียน การเยี่ยมหอพักนักเรียน ประชุมผู้ปกครองกลุ่มย่อย เป็นต้น

5.การส่งต่อ เมื่ออาจารย์ที่ปรึกษาและดูแลช่วยเหลือนักเรียน ไม่สามารถที่จะแก้ไขพฤติกรรมของนักเรียนได้ ให้ส่งต่อนักเรียนคนนั้น ไปให้อาจารย์ฝ่ายแนะแนว ซี่งเป็นนักจิตวิทยาของโรงเรียน หรือโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดูแลช่วยเหลือต่อไป
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่(หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
ทางโรงเรียนจะมีการพัฒนารายวิชา(วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต โดยจะสอดแทรกเอาไว้ในกิจกรรมของวิชานั้นๆ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติ เช่น
-การฝึกทำงานเป็นกลุ่ม
-การฝึกสมาธิ เป็นต้น
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
โรงเรียนจะประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆได้ โดยสังเกตจากพฤติกรรมของเด็ก เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพการศึกษา และนำมาประเมินว่าโรงเรียนมีมาตรฐานด้านนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
มี เพื่อนำมาใช้ในการสังเกตและประเมินนักเรียนว่ามีภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตเป็นเช่นไร จะได้ดำเนินการช่วยเหลือ สนับสนุน หรือหาทางแก้ไขได้ต่อไป เช่น
ระบบประเมินสุขภาพด้วยตนเองสำหรับนักเรียน เพื่อให้นักเรีย และผู้ที่ใส่ใจดูแลสุขภาพของบุตรหลานที่มีอายุอยู่ระหว่าง 10-18 ปี สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสุขภาพของตนเองว่ามีภาวะสุขภาพที่ดี หรือมีความผิดปกติ ตลอดจนมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือความเจ็บป่วยในเรื่องต่างๆ รวม 8 เรื่องหรือไม่ คือ
-ความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
-ภาวะการเจริญเติบโต
-โรคหรือความผิดปกติของร่างกาย
-ภาวะสายตาและการได้ยิน
-ความสุข
-สมรรถภาพทางกาย
-พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
-พฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องอุบัติเหตุ

กิจกรรมที่12


วีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช
สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บริเวณค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๒ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ประวัติความเป็นมา
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่นครศรีธรรมราชในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ โดยการนำของพลโทอิอิด้า ส่วนกองทัพไทยได้แต่งตั้งให้พลตรีหลวงเสนาณรงค์ ผู้บัญชาการ มณฑลทหารบกที่ ๖ เป็นแม่ทัพบัญชาการรบ ซึ่งหลวงเสนาณรงค์ได้รับรายงานข่าวว่าเรือรบญี่ปุ่นมาปิดปากอ่าวและยกพลขึ้นบกที่สงขลา จึงได้เตรียมความพร้อมในการรับมือข้าศึก แม้ขณะนั้นฝนจะตกหนัก ในที่สุดก็ได้รับรายงานว่า มีเรือรบญี่ปุ่น จำนวน ๓ ลำกำลังลำเลียงพลด้วยเรือท้องแบนมาตามคลองท่าแพ พลตรีหลวงเสนาณรงค์ได้สั่งการให้เปิดคลังแสง แจกจ่ายอาวุธปืนเล็ก ปืนกล ให้แก่ทหารทุกคนที่ประจำการอยู่ รวมทั้งกองทหารยุวชน จำนวน ๓๐ นายด้วย และประกาศให้ทุกคนต่อสู้อย่างเต็มกำลัง การสู้รบมีสองแนวรบ
แนวรบที่สำคัญคือ แนวรบบ้านท่าแพ ได้มีการสู้รบที่ดุเดือดที่สุด ระหว่างทหารไทยกับทหารญี่ปุ่น ถึงขั้นตะลุมบอนกันด้วยดาบปลายปืน เหล่าทหารหาญได้ปฏิบัติการสู้รบอย่างกล้าหาญ และน่าชื่นชมอย่างยิ่ง การสู้รบได้ดำเนินการอย่างรุนแรงมาโดยตลอด ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกมากกว่าฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งแสดงทีท่าจะล่าถอย ปรากฏว่าฝ่ายข้าศึกสูญเสียทหารไปเป็นจำนวนมาก จนผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ ฝ่ายทหารไทยสูญเสียทหารไป ๓๙ นาย ซึ่งจัดว่าการรบที่บ้านท่าแพเป็นจุดที่สูญเสียทหารมากที่สุดในการต้านทาน การยกพลขึ้นบกของญี่ปุ่นในภาคใต้
ภายหลังเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ได้มีการก่อตั้งอนุสาวรีย์วีรไทยขึ้น เพื่อแสดงความกล้าหาญของเหล่านักรบผู้กล้าหาญของนครศรีธรรมราช
ผลงานและเกียรติคุณที่ได้รับ
๑.ผลงานของทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช ในการต้อสู้กับข้าศึกทหารญี่ปุ่น โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ การรบได้ดำเนินการอย่างกระชั้นชิดในเวลาอันรวดเร็ว ฝ่ายทหารไทยรุกเข้าไปจนถึงท่าเรือ ห่างจากเรือข้าศึกเพียง ๑๐๐ เมตร ได้เข้าตะลุมบอน มีเสียงไชโยทุกแนวที่ยึดได้ ไม่มีครั้งใดที่จะได้เห็นการต่อสู้อย่างทรหดจนถึงขั้นตะลุมบอนอย่างในครั้งนี้ ผลการรบฝ่ายข้าศึกตายมาก ผู้บัญชาการของข้าศึกเสียชีวิตในที่รบ
๒.เกียรติคุณที่ได้รับ ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานขึ้นเพื่อสดุดีเกียรติคุณและรำลึกถึงวันประวัติศาสตร์แห่งการสู้รบระหว่างทหารวีรไทย นักรบผู้กล้าหาญแห่งนครศรีธรรมราช โดยพลตรีหลวงเสนาณรงค์ ได้เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างขึ้น ตามความประสงค์ของประชาชนทุกหมู่เหล่า และจอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ตั้งชื่ออนุสาวรีย์ว่า "อนุสาวรีย์วีรไทย พ.ศ. ๒๔๘๔"
อนุสาวรีย์วีรไทย ตั้งอยู่ในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ ๔ ซึ่งเดิมเป็นจุดที่รบกันอย่างรุนแรงถึงขั้นประจัญบาน ตัวอนุสาวรีย์หันหน้าไปทางทิศที่ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ท่าแพ ตัวอนุสาวรีย์สร้างเป็นทหารรบในชุดเครื่องแบบพร้อมรบ มือถือดาบปลายปืน อยู่ในท่าประจัญบาน มีขนาดสูงกว่าคนจริงสองเท่าครึ่ง ตั้งอยู่บนฐานสามเหลี่ยมภายในฐานจารึกบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในการรบ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๔ จำนวน ๑๑๖ นาย กองทัพภาคที่ ๔ ได้จัดงานวันวีรไทยเฉลิมฉลองเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญของเหล่าทหารหาญดังกล่าว

กิจกรรมที่11

แผนการเรียนรู้ที่ ๑ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
มาตรฐาน ชั้น ป.๑ เวลา ๓ ชั่วโมง.
สาระที่ ๑ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
ความคิดรวบยอด
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนา จึงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ
สาระการเรียนรู้
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติไทย
ผลการเรียนรู้
๑.อธิบายความสำคัญของพระพุทธศาสนาได้
๒.บอกเรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาได้
๓.ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีได้
๔.บรรยายประโยชน์ของการนับถือศาสนาได้
กระบวนการเรียนรู้
มี ๖ ขั้นตอน ดังนี้
๑.ขั้นเกริ่นนำ
ให้นักเรียนร้องเพลง เล่านิทาน เล่นเกม หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อม
นักเรียน เช่น ร้องเพลง หัวใจพระพุทธศาสนา พร้อมกับปรบมือตามจังหวะเพลง
เพลงหัวใจพระพุทธศาสนา
มูลนิธิแสงเทียน
เพื่อนเอยอยากรู้ไหมว่า พระพุทธศาสนาสอนว่าอย่างไร
ฟังนะฉันจะบอกให้ จงตั้งใจจดจำให้ดี
หนึ่งละเว้นความชั่ว อย่าเกลือกกลั้วให้เสื่อมศรี
สองสร้างสมความดี ให้ก่อเกิดมีความสุขใจกาย
สามทิ้งความเศร้าหมอง อย่าให้ครองดวงจิตผ่องใส
สามข้อที่กล่าวไป คือหัวใจพระพุทธศาสน์เอย
๒.ขั้นประสบการณ์
ให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง ดังนี้

กิจกรรมที่ ๑เรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา
๑.ครูซักถามนักเรียนว่า นับถือศาสนาอะไร ให้นักเรียนตอบทีละคน จากนั้น ครูและนักเรียนร่วมกันสนทนาว่า นักเรียนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แล้วทุกคนทราบหรือไม่ว่า พระพุทธศาสนาคืออะไร และมีความสำคัญต่อเราอย่างไร
๒.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ดังนี้
-พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา
-พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่จากประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศไทยนานมาแล้ว
-วิถีชีวิตของคนไทยผูกพันกับพระพุทธศาสนา จนกล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา ประจำชาติไทย
๓.ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ จัดทำเป็นผลงานศาสนาประจำชาติไทย แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๒ เรื่อง สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
๑.ครูนำภาพธงชาติไทยหรือธงของจริง มาให้นักเรียนดู แล้วซักถามนักเรียนเกี่ยวกับความหมายของสีที่อยู่ในธงชาติ
๒.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับความหมายของสีในธงชาติไทย ดังนี้
-สีแดง แทน ชาติ
-สีขาว แทน ศาสนา
-สีน้ำเงิน แทน พระมหากษัตริย์
๓.ครูอภิปรายเพิ่มเติมให้นักเรียนฟังว่า พระพุทธศาสนา นอกจากเป็นศาสนาประจำชาติไทยแล้ว ยังถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพราะในธงชาติไทยได้ใช้สีขาวเป็นสัญลักษณ์แทนศาสนาที่คนไทยนับถือ ซึ่งก็คือ พระพุทธศาสนา นั่นเอง
๔.ให้นักเรียนระบายสีธงชาติไทยให้ถูกต้อง และชี้บอกว่า แถบสีใดแทนพระพุทธศาสนาจัดทำเป็นผลงานชิ้นที่ ๒ สัญลักษณ์ประจำชาติไทย แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๓ เรื่อง พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
๑.ครูซักถามนักเรียนว่า พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไรบ้างให้
นักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็น
๒.ครูนำภาพคนกำลังใส่บาตร คนกำลังเวียนเทียน การบวชพระ มาให้นักเรียนดู แล้วครู ซักถามนักเรียนว่า เคยทำหรือเคยเห็นเหตุการณ์อย่างในภาพหรือไม่
๓.ครูสนทนากับนักเรียนว่า พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยหลาย
เรื่อง เช่น
-ทุกเช้าจะมีพระสงฆ์ออกบิณฑบาตตามบ้านเรือน และมีผู้คนคอยใส่บาตรพระสงฆ์
-ชายไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ถือเป็นประเพณีว่า เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ควรบวชเพื่อศึกษาพระธรรม
-ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธจะไปร่วมทำบุญตักบาตรและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
๔.ให้นักเรียนสำรวจตนเองว่า เคยทำสิ่งใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยขีด / ทับข้อความ ขีด / ลงในตารางตามความเป็นจริง และขีด / หรือกา X ทับภาพที่ถูกต้อง พร้อมกับบอกเหตุผล จัดทำเป็นผลงานชิ้นที่ ๓ พุทธศาสนิกชนที่ดี แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น

กิจกรรมที่ ๔ เรื่อง พระพุทธศาสนาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
ให้นักเรียนติดภาพ หรือวาดภาพเกี่ยวกับการปฏิบัติตนของชาวพุทธที่ดี ที่ตนเองเคยปฏิบัติและอยากปฏิบัติมาอย่างละ ๑ ภาพ พร้อมกับเขียนบอกว่า เป็นการกระทำในเรื่องใด จัดทำเป็นผลงานชาวพุทธที่ดี จากนั้น นำผลงานมาแลกเปลี่ยนกันดูกับเพื่อนในชั้นเพื่อแนะนำให้เพื่อนๆ นำไปปฏิบัติ แล้วผลัดกันออกมารายงานที่หน้าชั้น
๓. ขั้นสะท้อนความคิด
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนออกมารายงานผลการทำกิจกรรมแล้วนำเสนอผลงาน จากนั้นนำผลงานมาจัดป้ายนิเทศ
๔. ขั้นทฤษฎี
๑.ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ถ้านักเรียนรายงานผลการทำกิจกรรมในขั้นสะท้อนความคิดไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ให้ครูเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง
๒.ครูให้นักเรียนศึกษาสาระการเรียนรู้จาก ใบความรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
๕. ขั้นนำไปใช้

กิจกรรมที่ ๕ เรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
ให้นักเรียนอภิปรายกลุ่มว่า จะนำความรู้ที่ได้จากการเรียนเรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร สรุปผลการอภิปรายและเขียนเป็นแผนผังความคิด จัดทำเป็นผลงานแผนผังความคิด แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
๖. ขั้นสรุป
๑. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย จากนั้น ครูตรวจแบบฝึกหัดพร้อมกับเฉลยคำตอบ
๒. ให้นักเรียนอภิปรายและซักถามเพิ่มเติม แล้วเก็บผลงานไว้ในแฟ้มผลงานนักเรียน จากนั้น
ครูนัดหมายการเรียนครั้งต่อไป
สื่อการเรียนรู้
๑.ใบผลงานและวัสดุอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ในใบผลงาน
๒.ใบความรู้เรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย
การประเมินผล
๑.ประเมินตามสภาพจริง
๑.๑ สังเกตการทำกิจกรรมของนักเรียน
๑.๒ ฟังรายงานผลการทำกิจกรรมของนักเรียน
๒.ตรวจผลงานในแฟ้มผลงานนักเรียน
๓.ตรวจแบบฝึกหัดเรื่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย

เกณฑ์การประเมินผล
เกณฑ์การประเมินคุณภาพของผลงานที่นักเรียนทำ

กิจกรรมที่10

เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet Bolg ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์
1. กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ
ผู้ค้นพบปราสาทพระวิหารในสมัยปัจจุบันคือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ พระราชโอรสองค์ที่ ๑๑ ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อีสาน) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนามไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า "๑๑๘ สรรพสิทธิ" ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. ๒๔๔๗ ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา ๑ ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑ ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม ๕๐ ชุด แต่ละชุดมี ๑๑ แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ "แผ่นดงรัก" ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรองหรือทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดัง กล่าว
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ทำให้แสนยานุภาพทางทหารลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ ๕ คืนจากฝรั่งเศส ซึ่งฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิด สงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด ๒๒ วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืน จังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และ พระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์ ต่อมาเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร และต่อมาญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน ๔ จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง
ภาย หลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร และไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๑ และในปีต่อมา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม ๑๓ คน เป็นทนายฝ่ายไทย และฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม ๙ คน
กระทั่งวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยเสียง ๙ ต่อ ๓ และในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต ทั้งนี้คำตัดสินของศาลโลกนั้นเป็นที่สิ้นสุด ไม่มีการอุทธรณ์ การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่นั้นสามารถทำได้ถ้ามีหลักฐานใหม่และต้องทำ ภายในสิบปี หลังจากนั้นไม่นาน กัมพูชาเกิด สงครามกลางเมืองขึ้นภายในประเทศ ปราสาทหินแห่งนี้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ แต่ปีต่อมาก็ถูก เขมรแดงเข้าครอบครอง จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทยเมื่อปลายปีพ.ศ.๒๕๔๑
๒. กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เพราะ นายกษิต ภิรมย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนแรกและคนเดียวที่เพิกถอนหนังสือ เดินทางทุกประเภทของนักโทษชายทักษิณ ชินวัตร ติดต่อทางการทูตกับหลายประเทศเพื่อให้ความร่วมมือในการมิให้นักโทษชายทักษิณ ทำร้ายประเทศไทยและยังขอความร่วมมือในการส่งตัวกลับมารับโทษทัณฑ์ในประเทศ ไทย จึงถือเป็นบุคคลอันตรายที่สุดในระบอบทักษิณ ใช่หรือไม่?
แต่ ที่น่าจับตามากที่สุดในเวลานี้ กลับเป็นเรื่องผลประโยชน์อันมหาศาลในเรื่องปราสาทพระวิหาร พื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร และดินแดนอธิปไตยของไทย ๑.๕ ล้านไร่ ตลอดจนผลประโยชน์ทางพลังงานในพื้นที่อ่าวไทย ที่ฝ่ายกัมพูชากำลังรุกล้ำอย่างหนัก ซึ่งเชื่อว่า ไม่สามารถที่จะเจรจากับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเพื่อให้ยินยอมในเรื่องเหล่านี้ได้
นายกษิต ภิรมย์ เป็นผู้เสนอทางออกเรื่องปราสาทพระวิหารว่า “ให้ทำหนังสือยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาส่งให้ประเทศกัมพูชาและคณะกรรมการมรดกโลก”อัน เป็นที่มาของแถลงการณ์ในข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยใน เวลาต่อมา ซึ่งถึงวันนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวช่างบังเอิญว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในช่วงหลังไม่ได้เป็นผู้เจรจากับนายฮุน เซน ในเรื่องปราสาทพระวิหารและผลประโยชน์ในอ่าวไทยอีกต่อไป แต่กลับเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่เจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารและการรุกล้ำอธิปไตยของไทย แต่กลับไปเจรจาอย่างขะมักเขม้นในเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ซึ่งดูเหมือนว่าจุดยืนจะไม่เหมือนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายกษิต ภิรมย์ ตามคำสัมภาษณ์ตอนหนึ่งของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ว่า:
“คิด ว่าความรุนแรงบริเวณเขาพระวิหารจะลดระดับลง อย่าไปคิดว่าเขาพระวิหารจะต้องมีอะไรโต้แย้งกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะศาลโลกตัดสินมาตั้งหลายสิบปีแล้วว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ส่วนการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ก็มีส่วนอื่นๆ”
เป็น ความคิดที่เหมือนเป็นพวกเดียวกันกับ นายนพดล ปัทมะ และนายสมัคร สุนทรเวช อย่างไม่ผิดเพี้ยน! ยังมีเรื่องน่าประหลาดใจมากขึ้นไปอีก ที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ยังคงเน้นไมตรีระหว่างประเทศจนมองข้ามการเจรจาเรื่องอธิปไตยในพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร มุ่งเน้นการเจรจาเรื่องผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทยแทน ซึ่งมีพฤติกรรมคล้ายคลึงกันกับรัฐบาลหุ่นเชิดเมื่อปีที่แล้ว
ทำ ให้นึกถึงข่าวประจานของฝ่ายกัมพูชาที่ระบุว่า ประเทศไทยมีการเจรจาเรื่องปราสาทพระวิหารมาแลกเปลี่ยนปะปนกับผลประโยชน์ทางทะเลเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ ๒๕๕๑ จากหนังสือพิมพ์เดอะ คอมโบเดีย เดลี (The Cambodia Daily)โดยระบุถึงคำให้สัมภาษณ์ของ นายจาม ประสิทธิ์ รัฐมนตรีพาณิชย์ของกัมพูชา ที่ให้สัมภาษณ์ความตอนหนึ่งว่า:
“ฝ่าย ไทยเป็นฝ่ายที่พยายามโยงกรณีพื้นที่ทับซ้อนบริเวณเขาพระวิหารเข้ากับผล ประโยชน์ทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นด้วย โดยที่พวกเขา (ไทย) ต้องการโยง ๒ เรื่องเข้าด้วยกัน ดังนั้น หากเราแก้ปัญหาเขาพระวิหาร เราก็ต้องแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนด้วย มันเป็นคนละเรื่องกัน ดูเหมือนว่าขณะนี้ฝ่ายไทยกำลังสร้างเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมา ทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้น
3) กรณี MOU43 ของรัฐบาล นายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร

นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์กรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างไทยกับกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน พ.ศ. ๒๕๔๓ ว่า ต้องการให้คนที่มีความเข้าใจ และเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวเป็นผู้พูด โดยเฉพาะ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตรัฐมนตรีว่าการและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในขณะนั้น และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
สาเหตุที่มีการทำ MOU ดังกล่าว เพราะขณะนั้นมีข้อขัดแย้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา และทั้ง ๒ ฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกัน ในการปักปันเขตแดน โดยการปักปัน ก็เป็นไปตามกระบวนการที่ตกลงกันไว้ และแต่ละฝ่ายต้องไม่ละเมิดพื้นที่ จึงยืนยันได้ว่าการดำเนินการดังกล่าว ไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ
“ผม คิดว่า ในระหว่างนี้ หลังจากมีการทำข้อตกลง มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ควรต้องลงไปดูในพื้นที่ และคุยกับเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อย จะทำให้รู้เบื้องหลังบางเรื่อง ผมไม่ได้ทำอะไรให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ สมัยผมไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว ทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์บ้านเมืองทั้งสิ้น และไม่คิดว่าเอ็มโอยู ปี ๔๓ กลายเป็นจำเลยของสังคม มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คิดเช่นนี้" นายชวน กล่าว
กองทัพไม่ประมาท เตรียมพร้อมป้องอธิปไตย เชื่อเขมรไม่พอใจเลื่อนพิจารณา เขาพระวิหาร